Thursday, May 19, 2011

วงดนตรีไทยในวัง สมัยรัชกาลที่ 5

ในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ต่อเนื่องไปถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ นั้นพบว่า การอุปถัมภ์วงดนตรีไทยปรากฏอยู่ตามวังของพระบรมวงศานุวงศ์เป็นหลัก เช่น  วังหน้าในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีครูคนสำคัญประจำวงคือพระประดิษฐ์ไพเราะ ( มีดุริยางกูร หรือ ครูมีแขก ) ครูเพ็ง ดุริยางกูร ศิษย์ที่มีชื่อเสียงจากวังหน้านี้อาทิเช่น ครูสิน ศิลปบรรเลง  ครูต้ม พาทยกุล   ครูแดง พาทยกุล  ครูทองดี ชูสัตย์  ครูถึก ดุริยางกูร เป็นต้น
  • วงวังหลวงสมัยรัชกาลที่ 5  ในสมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร มีครูคนสำคัญคือ ครูช้อย สุนทรวาทิน ครูแปลก ( พระยาประสานดุริยศัพท์ )  ครูหม่อมผิว มานิตยกุล  ศิษย์คนสำคัญของวังนี้เช่น  เจ้าเทพกัญญา  บูรณพิมพ์  เจ้าบัวชุม ณ เชียงใหม่ 
  • วงวังหลวงและสวนดุสิต ในพระอัครชายาเธอพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์  มีครูคนสำคัญของวังนี้เช่น  พระประดิษฐ์ไพเราะ ( ตาด )  หลวงเสนาะดุริยางค์  ( แช่ม ) ครูเฒ่าแก่จีบครูหม่อมส้มจีน บุนาค  ศิษย์จากวังนี้เช่น  เจ้าจอม ม.ร.ว. สดับ ลดาวัลย์   คุณหญิงรามบัณฑิตสิทธิ์เศรณี ( นักร้อง )  ครูท้วม ประสิทธิกุล  เป็นต้น
  • วงวังบ้านหม้อ ในเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์  มี พระประดิษฐ์ไพเราะ ( ตาด ) เป็นครูควบคุมวง  ศิษย์คนสำคัญของวังนี้ได้แก่ หลวงบำรุงจิตเจริญ ( ธูป ศาสตรวิลัย )
  • วงกรมมหรสพ ม.ร.ว. หลาน กุญชร  ครูประจำวงนี้เช่น  หลวงเสนาะดุริยางค์ ( ทองดี )  ครูเหลือ  หม่อมเข็ม  ครูสิน สินธุนาคร  ส่วนศิษย์ของวงนี้อาทิเช่น  หม่อมเจริญ  พาทยโกศล  หม่อมมาลัย กุญชรฯ  หม่อมคร้าม กุญชรฯ  ขุนสมานเสียงประจักร ( เถา สินธุนาคร )  ครู เฮ้า  สินธุนาคร  ครูศุข ดุริยประณีต  ครูแป้น วัชโรบล  เป็นต้น
  • วงวังบูรพาภิรมย์    ในสมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช  ครูคนสำคัญประจำวังนี้คือพระยาประสานดุริยศัพท์(แปลก ประสานศัพท์ )หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ( ศร ศิลปบรรเลง )   ศิษย์ของวังนี้เช่น  ครูเพชร จรรย์นาฎ  ครูเผือก   นักระนาด  ครูลาภ ณ บรรเลง   ครูจางวางผาด  ครูสงัด ยมคุปต  ครูร้อยเอกโองการกลีบชื่นเป็นต้น
  • วงกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์   มีครูสิน  สินธุนาคร    และครูเฮ้า สินธุนาครเป็นครูประจำวง
  • วงวังท่าเตียน  ในกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม   มีครูแปลก หรือ พระยาประสานดุริยศัพท์   กับครูปั้น  บัวทั่ง  เป็นครูประจำวง
  • วงวังสวนกุหลาบ  ในเจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา       มีครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ( ศร ศิลปบรรเลง ) ศิษย์คนสำคัญคือ ครูท้วม ประสิทธิกุล

    พลโท สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
  • วงวังลดาวัลย์ และวังบางคอแหลม พลโท สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ทรงโปรดและสนับสนุนการดนตรีมาก ทรงมีวงดนตรีประจำวังที่เรียกว่า วงวังลดาวัลย์ ต่อมาเมื่อทรงสร้างวังขึ้นใหม่คือวังบางคอแหลมได้ย้ายนักดนตรีมาประจำที่วง นี้เป็นจำนวนมากแล้วตั้งชื่อว่า วงวังบางคอแหลม นักดนตรีส่วนใหญ่มาจาก วงวังบูรพาภิรมย์ มีหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เป็นครูฝึกซ้อม มีจางวางผาด ปัญจโกวิทย์ เป็นผู้ควบคุมวง นักดนตรีในวงนี้ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันในยุคต่อมาเช่น
    • นายรวม พรหมบุรี - ระนาดเอก
    • เรืออากาศเอก โองการ กลีบชื่น - ฆ้องวงเล็ก
    • นายรอด อักษรทับ - ระนาดเอก ฆ้องวง
    • นายเผือด นักระนาด - ระนาดเอก
    • นางจิ้มลิ้ม ธนาคม - นักร้อง


          วงดนตรีวังบางคอแหลม ได้ชื่อว่าเป็นวงดนตรีที่มีชื่อเสียงมากที่สุดวงหนึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ โดยหลวงประดิษฐไพเราะฯซึ่งเป็นครูผู้ควบคุมวง ได้แต่งเพลงขึ้นเป็นเอกลักษณ์สำคัญประจำวงไว้หลายเพลงอาทิเช่น เพลงแขกลพบุรีทางวังบางคอแหลม และ เพลงเชิดจีนทางวังบางคอแหลม เป็นต้น
  • วงวังเพชรบูรณ์  ในกรมหลวงเพชรบูรณ์อินทราชัย    ครูของวงนี้  คือ หม่อมมาลัย  กุญชรฯ  ศิษย์ของวงนี้ได้แก่  ครูท้วม  ประสิทธิกุล
  • วงวังหลวงในสมัยรัชกาลที่ 6  มีพระยาประสานดุริยศัพท์ ( แปลก  ประสานศัพท์ ) และ พระยาเสนาะดุริยางค์  ( แช่ม  สุนทรวาทิน )  เป็นครูประจำวง
  • วงวังสวนสุนันทา ในพระสุจริตสุดามีครูพระสรรเพลงสรวง  เป็นครูประจำวง  และศิษย์ของวงนี้อาทิเช่น  ครูสุพัตรา  สุจริตกุล  ครูฉลวย  จิยะจันทร์  ครูทองดี  สุจริตกุล    ครูนิภา  อภัยวงศ์  เป็นต้น
  • วงวังบางขุนพรหม  ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตครูคนสำคัญของวงนี้คือจางวางทั่วพาทยโกศลครูเจริญ พาทยโกศล  ครูทองดี ชูสัตย์ ครูสังวาลย์ กุลวัลกี  ศิษย์จากวงนี้ได้แก่  ครูทรัพย์  เซ็นพานิช  ครูอาจ  สุนทร  ครูช่อ  สุนทรวาทิน  ครูฉัตร  สุนทรวาทิน  ครูเตือน พาทยกุล ครูฉ่ำ เกิดใจตรง  ครูแมว พาทยโกศล  ครูย้อย  ชูสัตย์  ร้อยเอกนพ  ศรีเพชรดี ครูพังพอน แตงสืบพันธ์  ครูเอื้อน  กรเกษม ครูเทวาประสิทธิ์  พาทยโกศล  คุณหญิงไพฑูรย์  กิตติวรรณ   เป็นต้น
  • วงวังหลวง  ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  มีครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ( ศร ศิลปบรรเลง ) เป็นครูประจำวง
  • วงมโหรีหญิงหลวง  มีพระยาเสนาะดุริยางค์(แช่ม  สุนทรวาทิน ) เป็นครูประจำวง  ศิษย์ของวงนี้มีอาทิ  คุณหญิงชิ้น  ศิลปบรรเลง ครูเจริญใจ  สุนทรวาทิน ครูแช่มช้อย  ดุริยพันธ์  ครูเลื่อน  ผลาสินธุ์  ครูสุดา  เขียววิจิตร  ครูศรีนาฎ  เสริมศิริ   เป็นต้น
จนถึงปัจจุบันนี้  ยังคงมีอีกสถานที่หนึ่งคือวังคลองเตยในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์  ซึ่งวังนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อบ้านปลายเนิน “  นั่นเองก็ยังคงมีการเรียนการสอนดนตรีไทยอยู่อย่างสม่ำเสมอพร้อมทั้งส่งเสริม รักษาและ เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย ดนตรี และ นาฏศิลป์ไทยอยู่อย่างสม่ำเสมอ  วงดนตรีที่วังนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อวงดนตรีบ้านปลายเนิน “ พระทายาทที่ดูแลสืบทอดปัจจุบันคือหม่อมเจ้าดวงจิตร์ จิตรพงศ์และหม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์  เดิมทีนั้น  ครูมนตรี ตราโมท รับหน้าที่เป็นครูผู้สอน  แต่ในปัจจุบันนี้ ครู  สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ  เป็นผู้สอนตลอดมา   นักดนตรีที่มาฝึกซ้อมเป็นประจำอาทิ  เช่น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  หม่อมเจ้ากรณิกา  จิตรพงศ์  ม.ร.ว. เอมจิตร จิตรพงศ์ ม.ร.ว. จักรรถ จิตรพงศ์  ครูพูนทรัพย์  ตราโมท  ครูศิลปี  ตราโมท ครูบุญช่วย  โสวัตรและครู  ปิ๊ป  คงลายทอง  เป็นต้น

ในยุคที่หนึ่งนี้  จะพบว่ามีนักดนตรีที่เข้าสู่ระบบอุปถัมภ์อยู่ 2 กลุ่มคือนักดนตรีในอุปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ กับในระบบอุปถัมภ์ของเจ้าต่างกรม ถือได้ว่าเป็นยุคที่ดุริยกวี เกิดขึ้นมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 นั้น  ตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ทรงครองราชย์  พระองค์ท่านได้ทำนุบำรุงและส่งเสริมการดนตรีไทยให้เจริญรุ่งเรืองสูงสุด  ถือเป็นยุคทองของดนตรีไทยทีเดียว  ในรัชสมัยของพระองค์นั้น  มีนักร้องนักดนตรีได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์   มีราชทินนามเกิดขึ้นมากมาย    นักดนตรีไทยที่เรานับเป็นดุริยกวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์   ที่เป็นที่เคารพนับถือของนักดนตรีไทยในปัจจุบันได้แก่ พระยาประสานดุริยศัพท์  ( แปลก ประสานศัพท์ )  พระยาเสนาะดุริยางค์  ( แช่ม สุนทรวาทิน )  หลว  ( ศร  ศิลปบรรเลง ) พระยาภูมีเสวิน  ( จิตร  จิตตเสวีจางวางทั่ว  พาทยโกศล  ดุริยกวีในลำดับต่อมาก็คือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7   พระโอรสองค์ที่  74 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5     ผลงานสร้างสรรค์เพลงของพระองค์ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปก็คือ  เพลงราตรีประดับดาว ( เถา )  ซึ่งเป็นเพลงพระราชนิพนธ์อันดับแรกของพระองค์ที่ได้รับการถวายคำแนะนำจาก หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ( ศร  ศิลปบรรเลง )    และ หลวงไพเราะเสียงซอ  ( อุ่น ดูรยะชีวิน )  นอกจากนั้นก็มีเพลงเขมรลออองค์ ( เถา )   กับ เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง  สามชั้น  ซึ่งเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมอย่างสูงตลอดมา
งประดิษฐ์ไพเราะ


No comments:

Post a Comment